การยกย่อง ของ นีล บาร์ตเลตต์

ใน ค.ศ. 1968 บาร์ตเลตต์ได้รับเหรียญเอลเลียตต์ เครสสันจากสถาบันแฟรงคลิน ใน ค.ศ. 1973 เขาได้รับเลือกเป็นภาคีสมาชิกแห่งราชสมาคม ต่อมาใน ค.ศ. 1976 เขาได้รับรางวัลเวลช์จากการสังเคราะห์สารประกอบของก๊าซมีตระกูลซึ่งนำไปสู่งานวิจัยด้านเคมีอนินทรีย์สาขาใหม่ และได้รับเลือกเป็นภาคีสมาชิกสถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์อเมริกันใน ค.ศ. 1977[10] และภาคีสมาชิกชาวต่างชาติของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ใน ค.ศ. 1979 ต่อมาใน ค.ศ. 2002 เขาได้รับรางวัลเหรียญเดวีจากการค้นพบสารประกอบของก๊าซมีตระกูล

ใน ค.ศ. 2006 สมาคมเคมีแห่งสหรัฐและสถาบันเคมีแห่งประเทศแคนาดาได้เลือกให้การค้นพบสารประกอบของก๊าซมีตระกูลที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียเป็นหมุดหมายที่สำคัญทางประวัติศาสตร์วิชาเคมีแห่งชาติ (National Historic Chemical Landmarks) ว่าเป็น "พื้นฐานความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพันธะเคมี"[1]

บาร์ตเลตต์ได้รับเสนอชื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาเคมีตั้งแต่ ค.ศ. 1963 จนถึง ค.ศ. 1966 แต่ไม่เคยได้รับรางวัล[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นีล บาร์ตเลตต์ http://chemistry.berkeley.edu/publications/news/20... http://www.berkeley.edu/news/media/releases/2008/0... http://www2.chemistry.msu.edu/Portraits/PortraitsH... http://senate.universityofcalifornia.edu/inmemoria... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18784717 http://portal.acs.org/portal/PublicWebSite/educati... http://www.amacad.org/publications/BookofMembers/C... //doi.org/10.1007%2Fs11224-009-9526-9 //doi.org/10.1038%2F455182a //doi.org/10.1038/455182a